วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2552

ว่านหางจะเข้

วานหางจะเข้

การปลูก : ว่านหางจระเข้ปลูกง่าย โดยการใช้หน่ออ่อน ปลูกได้ดีในบริเวณทะเลที่เป็นดินทราย และมีปุ๋ยอุดมสมบูรณ์ดี จะปลูกเอาไว้ในกระถางก็ได้ ในแปลงปลูกก็ได้ ปลูกห่างกันสัก 1-2 ศอก เป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก แต่ต้องมีการระบายน้ำดีพอ มิฉะนั้นจะทำให้รากเน่าและตาย ว่านหางจระเข้ชอบแดดเรไร ถ้าถูกแดดจัดใบจะเป็นสีน้ำตาลแดง
รสและสรรพคุณยาไทย : รสจืดเย็น โบราณใช้ทาปูนแดงปิดขมับใช้แก้ปวดศีรษะ
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ : วุ้นในใบว่านหางจระเข้มีสารเคมีอยู่หลายชนิด เช่น Aloe-cmidin, Aloesin, Aloin, สารประเภท glycoprotein และอื่นๆ ยางที่อยู่ในว่านหางจระเข้มีสาร anthraquinone ทีมีฤทธิ์ขับถ่ายด้วย ใช้ทำเป็นยาดำ มีการศึกษาวิจัยรายงานว่า วุ้นหรือน้ำเมือกของว่านหางจระเข้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลเรื้อรัง และแผลในกระเพาะอาหารได้ดี เพราะวุ้นใบมีสรรพคุณรักษาแผลต่อต้านเชื้อแบคทีเรียช่วยสมานแผลได้ด้วยและยังนำมาพัฒนารูปแบบเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปทั้งทางด้านยาและเครื่องสำอางค์ แชมพูสระผม อีกด้วย
สรรพคุณและวิธีใช้ว่านหางจระเข้
ว่านหางจระเข้ ซึ่งเป็นที่นิยมกันมาแต่โบราณ มีความลี้ลับอะไรอยู่หรือ แม้ว่าผู้คนจะนิยมใช้ว่านหางจระเข้กันมาแต่โบราณ แต่สรรพคุณของว่านหางจระเข้ก็ยังมีม่านแห่งความ ลี้ลับปกคลุมอยู่มาตลอดช่วงระยะเวลาอันยาวนาน ผู้เปิดม่านความลี้ลับของว่านหางจระเข้ด้วยทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ก็คือ ดร.โซเอดะ โมโมเอะ ผู้เชี่ยวชาญด้านปฏิชีวนะสารที่มี ชื่อเสียงของญี่ปุ่น ดร.โซเอดะ เริ่มศึกษาวิจัยว่านหางจระเข้เมื่อ พ.ศ. 2540 โดยเธอได้นำ สารละลายของว่านหางจระเข้มากรอง แล้วนำไปแช่แข็ง จากนั้นก็สกัดให้เป็นผง แล้วจึงสกัดอีกครั้งด้วยน้ำและแอลกอฮอล์ แล้วตรวจวัดทันที ก็พบมีสารตกตะกอนหลายชนิด หนึ่งในผลงานศึกษาของเธอคือ ได้ค้นพบสารใหม่ที่ออกฤทธิ์ของยาของว่านหางจระเข้อีกครั้ง ซึ่งแต่เดิมทราบกันแต่ว่าว่านหางจระเข้มีสารอยู่สองชนิดคือ สารอะโลอิน กับสารอะโลไอโมติน แต่ดร.โซเอดะได้ค้นพบสารใหม่อีก 3 ชนิด สารหนึ่งในสามนี้คือ อะโลติน ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรคและเชื้อรา อีกชนิดหนึ่งคือ สารอะโลมิติน มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเนื้องอก และสารชนิดสุดท้ายคือ สารอะโลอูรซิน ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยสมานแผล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น