วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2552

ฟ้าทลายโจร สมุนไพรไทย




'ฟ้าทะลายโจร' ยาสมุนไพรบรรเทาอาการหวัด


คนไทยส่วนจะนิยมนำสมุนไพรที่มีชื่อว่า "ฟ้าทะลายโจร" ในการบรรเทาอาการไข้หวัด สำหรับฟ้าทะลายโจร เป็นที่รู้จักตั้งแต่สมัยโบราณและได้รับการยอมรับเป็นสมุนไพรแห่งปี ในปัจจุบันมีการนำฟ้าทะลายโจรมาทำเป็นยาลูกกลอน หรือใส่แคปซูลเพื่อความสะดวกในการกิน ขณะนี้ต้นฟ้าทะลายโจรได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในประเทศไทย มีผู้ทำการศึกษาค้นคว้าวิจัยถึงสรรพคุณยา และได้พบสารเคมีในส่วนต่างๆ ของพืชอยู่หลายชนิด รวมทั้งสาร Andrographolide ที่เป็นตัวยาสำคัญที่มีอยู่ในทุกส่วนคือ ราก ต้น ใบของฟ้าทะลายโจร และได้ทำการศึกษาทดลองเพื่อจำแนกโรคที่รักษาได้ดีให้ชัดเจน ซึ่งพบว่าฟ้าทะลายโจรรักษาโรคเหล่านี้ได้คือ แก้ติดเชื้อทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย บิด และแก้กระเพาะอักเสบ ลำไส้อักเสบ แก้อาการไอ เจ็บคอ หรือคออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ แก้ไข้ทั่วไป เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ เป็นยาขมเจริญอาหาร เป็นต้น
สมุนไพรฟ้าทะลายโจร ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ว่าเป็นสมุนไพรที่ช่วยบรรเทาอาการหวัด และเสริมภูมิต้านทานดีกว่าการใช้ยาปฏิชีวนะในคนที่เป็นหวัดบ่อยๆ ร้อนในบ่อยๆ เนื่องจากร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ ภูมิต้านทานอ่อนลง การรับประทานสมุนไพรฟ้าทะลายโจรจะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ทำให้ไม่เป็นหวัดง่าย ร้อนในจะหายไป และสมุนไพรฟ้าทะลายโจรดีกว่ายาปฏิชีวนะ ตรงที่ไม่เกิดการง่วงนอน ไม่เกิดการดื้อยา และยังป้องกันตับจากสารพิษหลายชนิด เช่น จากยาแก้ไข้พาราเซตามอล หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมฟ้าทะลายโจร
ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ : ฟ้าทะลาย, น้ำลายพังพอน, ยากันงู, ฟ้าลาง, เมฆทะลาย, ฟ้าสะท้าน, สามสิบดี, ดีปังฮี (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Andrographis paniculata (Burm) Neesจัดอยู่ในวงศ์ : Acanthaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ล้มลุกสูง 1-2 ศอก ลำต้นสี่เหลี่ยมตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขามากมาย ใบเรียวกว้างประมาณ 1 ซ.ม. ดอกออกเป็นช่อเล็กๆ สีขาว มีรอบประสีม่วงแดง กลีบดอกด้านบนมี 3 หยัก ด้านล่างมี 2 หยัก ผลเป็นฝักคล้ายฝักต้อยติ่ง เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน ต้นและใบมีรสขมมาก ส่วนที่ใช้เป็นยาคือ ราก ใบ ทั้งต้น
การปลูก ใช้เมล็ดโรยลงดิน กลบดินไม่ต้องลึกแล้วรดน้ำให้ชุ่ม มักนิยมปลูกตอนต้นฤดูฝน ไม่ชอบแดดจัดมาก หากอยู่ในที่แจ้งต้นจะเตี้ยใบเล็กหนา และในที่ร่มต้นจะสูง ใบใหญ่แต่บาง ควรปลูกในที่ไม่ร่มและไม่แจ้งนัก ในฤดูฝนไม่จำเป็นต้องรดน้ำ แต่ในฤดูแล้งควรรดน้ำให้ดินชุ่มชื้นอยู่เสมอ ถ้าปลูกขึ้นได้หนึ่งต้นจนมีฝักแก่ เมล็ดจะกระจายออกไปขึ้นทั่วจนต้องถอนทิ้งบ้าง
ประโยชน์ในการรักษา
1.ใช้รักษาอาการเจ็บคอ
2.ใช้แก้อาการท้องเสีย และโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน
3.บรรเทาอาการหวัดและเสริมภูมิต้านทาน ทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นหายจากหวัด ภูมิแพ้ที่มักเป็นบ่อยๆ ให้หายเร็วขึ้น
4.ใช้เป็นยาภายนอกเป็นยาพอกฝี รักษาแผลที่เป็นหนอง
วิธีการนำไปใช้
1.ใช้ในรูปยาต้ม โดยใช้ใบและกิ่งสดล้างสะอาด สับเป็นท่อนสั้นๆ ประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 10-15 นาที ดื่มก่อนอาหารวันละ 3 ครั้งแก้เจ็บคอ ใช้แก้ท้องเสีย แก้บิด ใช้ 2-3 กำมือ
2.ใช้ในรูปยาลูกกลอน โดยนำใบและกิ่งมาล้างให้สะอาดผึ่งลมให้แห้ง บดให้เป็นผง ปั้นผสมกับน้ำผึ้งเป็นเม็ดขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย ผึ่งให้แห้ง รับประทานครั้งละ 3-6 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน
3.ใช้ในรูปยาแคปซูล โดยใช้ผงใบและลำต้นบรรจุลงในแคปซูล ใช้รับประทานก่อนอาหารและก่อนนอน เนื่องจากฟ้าทะลายโจรมีรสขมมาก จึงนิยมใช้ในรูปยาลูกกลอนและรูปยาแคปซูล ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรจำหน่ายในรูปยาแคปซูล
4.ใช้ในรูปยาดองเหล้า นำใบฟ้าทะลายโจรแห้งขยำให้เป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ในขวดแก้ว แช่ด้วยเหล้าโรงพอท่วมยา ปิดฝาให้แน่น เขย่าขวดหรือคนยาวันละครั้ง เมื่อครบ 7 วัน กรองเอาแต่น้ำเก็บไว้ในขวดที่มิดชิดและสะอาด รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้งก่อนอาหาร
5.ใช้ใบค่อนข้างแก่ประมาณ 1 กำมือ ตำผสมเกลือเล็กน้อย เติมเหล้าครึ่งถ้วยยา น้ำครึ่งช้อนชา คนให้เข้ากันดี รินเอาน้ำดื่ม กากที่เหลือใช้พอกแผล-ฝี แล้วใช้ผ้าสะอาดพันไว้ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรที่สำคัญคือ ห้ามใช้กับผู้ป่วยที่มีความดันต่ำและมีอาการท้องอืด แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย บางคนเมื่อกินยาฟ้าทะลายโจรแล้วมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย เวียนหัว หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ ซึ่งควรหยุดยาทันที ไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานเกินไป เนื่องจากฟ้าทะลายโจรจะทำลายจุลินทรีย์ที่อยู่ในกระเพาะอาหารมากเกินไป

ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรที่สำคัญคือ ห้ามใช้กับผู้ป่วยที่มีความดันต่ำและมีอาการท้องอืด แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย บางคนเมื่อกินยาฟ้าทะลายโจรแล้วมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย เวียนหัว หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ ซึ่งควรหยุดยาทันที ไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานเกินไป เนื่องจากฟ้าทะลายโจรจะทำลายจุลินทรีย์ที่อยู่ในกระเพาะอาหารมากเกินไป

http://women.sanook.com/health/herbal/herbal_43891.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น